วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การบ้าน 19/06/59

จงอธิบายแบบการโฆษณาบนเว็บดังนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

1. การโฆษณาผ่านทางแบรนเนอร์
ตอบ ป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์อาจเป็นข้อความสั้น ๆ ภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อมัลติมีเดียที่ผสมผสานภาพและเสียงไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการมากขึ้น โดยเมื่อผู้ชมคลิกที่แบนเนอร์ ก็จะเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าชนิดนั้น สำหรับขนาดของแบนเนอร์ที่ใช้โฆษณาอาจแตกต่างกัน (ดังรูปที่ 8.2) แต่โดยทั่วไปจะมีความกว้างเท่ากับ 0.5 – 1 นิ้ว และมีความยาวเท่ากับ 5 – 6.25 นิ้ว เช่น ตามเว็บต่างๆที่มีป้ายเล็กๆข้างล่างหรือ มุมต่างๆบนเว็บนั้น









2. การโฆษณาผ่านทางป๊อบอัพ
ตอบ โดยทั่วไป ป๊อปอัพ (Pop-Up) โฆษณาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)
Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้




























3. การโฆษณาผ่านทางอีเมลล์
ตอบ เป็นการแนบข้อมูลสินค้าและบริการของบริษัทไปกับอีเมล์เพื่อส่งไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นบุคคลทั่วไป บริษัท หรือจากรายชื่อผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทก็ได้ นับว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสะดวก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากพร้อมกันในเวลาเดียวได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันการรับส่งอีเมล์ไม่ได้จำกัดอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถรับส่งอีเมล์ไปยังอุปกรณ์พกพา เช่น เครื่อง PDA หรือโทรศัพท์มือถือได้ อีเมล์จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการโฆษณาที่มีผู้ให้ความสนใจนำมาใช้งานกันมากขึ้น













4. การโฆษณาผ่านทาง URL
ตอบ เป็นการโฆษณาโดยอาศัยเครื่องมือประเภทเว็บไดเรกทอรีและเสิร์ชเอนจิ้น โดยผู้ใช้บริการจะต้องลงโฆษณากับผู้ให้บริการเหล่านี้ก่อน ซึ่งมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จากนั้นโปรแกรมก็จะจัดเก็บดัชนีคำศัพท์ และ URL (Universal Resource Locator) ของเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูล หากมีผู้ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ตรงกับข้อมูลของ URL ใดโปรแกรมก็จะแสดงผลลัพธ์เป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์นั้นขึ้นมา ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการประเภทนี้ เช่น www.google.com, www.yahoo.com และ www.altavista.com


















5. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล๊อก
ตอบ ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง กล่าวคือ คู่สนทนาสามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ในเวลาที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น โดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ห้องสนทนาจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นช่องทางโฆษณาได้ โดยวิธีนี้จะแตกต่างจากการใช้แบนเนอร์เพื่อโฆษณาบนเว็บเพจทั่วไป กล่าวคือ สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาที่มีการออนไลน์อยู่ และสามารถย้อนกลับมานำเสนอสินค้าชนิดเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิมซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือต้องใช้เวลาในการสนทนานาน และกลุ่มเป้าหมายที่ได้ค่อนข้างแคบ เช่น Camfrog
















6. การโฆษณาผ่านเกมส์ออนไลน์
ตอบ เป็นการโฆษณา หรือแบนเนอร์ใน Interface ขณะต่างๆให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นการโฆษณาโดยใช้เกม หรือเรียกว่า Advertising Gaming หรือ AdverGame หลักการของ AdverGame ถูกตั้งขึ้นโดย Anthony Giallourakis ในปี 2000 ต่อมาจึงถูกตีพิมพ์ในคอลัมน์ Jargon Watch ในนิตยสาร Wired รายเดือนของสหรัฐอเมริกาในปี 2001 แนวคิดของ Anthony Giallourakis จึงทำให้บริษัทเกมใหญ่ๆหลายแห่งมีแนวคิดในการให้บริการเกมส์ฟรี โดยจะมีรายได้มาจากการโฆษณา เช่น เกมส์ PangYa Online มีโฆษณา Clean&Clear



วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 1 บทบาทการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ

จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ จะพบว่าธุรกิจมีการแข่งขันสูงมาก ต้องอาศัยวิธีการและกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด มีการวางแผนดำเนินงานอย่างดี วิเคราะห์ความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้า มีเงินลงทุน มีความกล้าและความอดทนสูงจึงสามารถนำพาธุรกิจของตนอยู่รอดและเจริญเก้าหน้าได้ สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรคำนึงถึง คือ ความรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าประจำของธุรกิจนั้นตลอดไป
จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ขนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันเนื่องจากมีราคาไม้แพงจนเกินไป
1.1 "ความหมายและขอบเขตการจัดการธุรกิจ"
ในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ธุรกิจจะดำเนินงานได้ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการ และบุคคลสำคัญที่รับผิดชอบในการจัดการโดยตรงก็คือ ผู้บริหารการมีผู้บริการที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งที่องค์การธุรกิจทุกแห่งต้องการ ได่มีนักวิชาการหลายคนกล่าวถึงความหมายของการจัดการ(Management) หรือการบริหาร(Administration)
การจัดการ หมายถึงกระบวนการในการประสมประสานทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ทรัพยากรดังกล่าวได้แก่
1. คน (Man) คือ ทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นผู้ปฎิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
2. วัสดุสิ่งของ (Material) คือ วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุสิ่งของต่างๆที่จัดหามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
3. เงินทุน (Money) คือ ทรัพยากรสำคัญที่ช่วยสนับสนุนทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานไปได้อย่างรายรื่น
4. ข้อมุล (Information) คือ สถิติ ข่างสาร และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การที่สนับสนุนให้การประสานทรัพยากรอื่นๆ เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม

ทรัพยากรทั้ง 4 จะได้รับการประสมประสาน ผ่านกระบวนการจัดการหรือหน้าที่ทางการจัดการ (Management Functions) อันประกอบด้วย หน้าที่ในการวางแผน (Planning) การจัดการองค์กร (Organizing) การอำนวยการ (Directing) และการควบคุม (Controlling) โดยแต่ละหน้าที่นอกจากจะมีความสำพันธ์อย่างต่อเนื่องกันตามกระบวนการแล้ว ยังมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกันตลอดเวลา และเป็นหน้าที่ที่ผู้บริหารทุกคนต้องปฎิบัติ


1.1.1 ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามระดับการจัดการ
                  ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามระดับการจัดการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับได้แก่
1) ผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท เป็นต้น รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการวางแผนกลยุทธ์ และนโยบายต่างๆ ขององค์กรโดยส่วนรวม
2) ผู้บริการระดับกลาง เช่น ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น มีหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่าง และรับผิดชอบในการว่างแผนตลอดจนระเบียบปฎิบัติงาน
3) ผู้บริการระดับล่าง เช่น หัวหน้างานเป็นต้น มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลการปฎิบัติงานหรือคนงาน และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำงาน


1.1.2 ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามหน้าที่งาน
                ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามหน้าที่งานแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1) ผู้บริหารการผลิต เป็นผู้บริการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าแลับริการ
2) ผู้บริหารการตลาด เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการตลาดของสินค้าและบริการ
3) ผู้บริหารการเงิน เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการเงินและบัญชี
4) ผู้บริการทรัพยากรบุคคล เป็นผู้บริการที่รับผิดชอบการจัดการทรัพยากรบุคคล
5) ผู้บริหารทั่วไป เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบประสานงานของทุกๆหน้าที่งานเข้าด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน

1.2.1 ยุคประมวลผลข้อมูลหรือยุคดีพี(Data Processing Era : DP Era)
การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อสำนักงานสถิติแห่งประเทศไทยได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพื่อสำมะโนประชากรในราวปี พ.ศ. 2505 หลังจากนั้นก็เริ่มมีการดำเนินการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นทั้งในภาครัฐและเอกชน การใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจในยุคประมาลผลข้อมูล สามารถสรุปได้เป็น 6 ประเด็นหลักๆได้ดังนี้
1) ลักษณะการใช้งานทั่วไป เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการประมวลผลข้อมูลหรือที่เรียกว่า ระบบประมวณผลรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction Processing System : TPS) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผลรายการธุรกิจที่เกิดขึ้นในแต่ละวันซึ่งเป็นงานระดับพื้นฐานของธุรกิจเพื่อใช้ติดตามกิจกรรมประจำวัน
2) จุดมุ่งหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล เพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยเฉพาะในส่วนที่เกิดจากกิจกรรมหลักของธุรกิจในการประมวลผลรายการธุรกิจในแต่ละวัน
3) รูปแบบของการประมวลผลข้อมูล ในระยะแรกมักจะเป็นการทำงานแบบแบตซ์(Batch Processing) แต่ในระยะต่อมามีการทำงานแบบออนไลน์ (Online Processing) มากขึ้น การทำงานแบบแบตซ์นั้นจะเป็นการประมวลผลโดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวณหนึ่ง เพื่อรอประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในคราวเดียวพร้อมๆกัน ซึ่งแตกต่างจากการประมวลผลแบบออนไลน์ที่เมื่อมีข้อมูลเกิดขึ้นข้อมูลนั้นจะถูกส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลทันที
4) เทคโนโลยีในยุคประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในยุคประมวลผลข้อมูลมักจะเป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่มีสัดส่วนครองตลาดสูงมาก หน่วยงานขนาดใหญ่โดยส่วนใหญ่จะใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นหลักในการทำงาน นอกจากนี้ยังมี มินิคอมพิวเตอร์ซึ่งนิยมใช้กับองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
5) การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ องค์กรธุรกิจที่ใช้คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูลเป็นลักษณะแบบรวมอำนาจ (Centralized) สำหรับองค์กรขนาดใหญ่มักจะมีการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นฝ่ายคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดเล็กลงมา เพื่อทำหน้าที่จัดหาจัดซื้ออุปกรณ์และซอฟต์แวร์ให้แก่หน่วยงานย่อยภายในองค์การเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน
6) การพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ ในยุคประมวลผลซอฟต์แวร์ สำเร็จเพื่อนำไปใช้งานได้ทันทีทีน้อยมาก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเอง โดยเป็นหน้าที่ของศูนย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญในภาษาคอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบงาน เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้ในองค์การสำหรับระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นโดยส่วนใหญ่ในยุคประมวลผลข้อมูล มักจะเป็นสารสนเทศเพื่อช่วยให้การปฎิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็ว ส่วนระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารนั้นมักจะเน้นไปในการควบคุมและจัดสรรการใช้ทรัพยากรภายในองค์การให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  1.2.2 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที (Information Technology Era : IT Era)
ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งนิยม เรียกสั้นๆว่า ยุคไอทีนั้นเริ่มต้นขึ้นในราวช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งหากดูจากชื่อเรียกของยุคแล้ว ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและสารสนเทศที่ต้องทำงานควบคู่กันไปในยุคนี้ผู้ประกอบธุรกิจได้ตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตามไม้ได้หมายความว่าการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจจะสิ้นสุดลง องค์กรธุรกิจก็ยังคงใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นจากงานประจำซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหลักของธุรกิจอยู่เช่นเดิม
  การใช้คอมพิวเตอร์ในการงานธุรกิจในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสรุปเป็น 5 ประเด็นหลักได้ดังนี้
1) ลักษณะการใช้งานทั่วไป จากที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมานั้น ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์แพร่หลายในวงกว้าง ไม่ได้จำกัดอยู่ในแค่เฉพาะในธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดกลางเท่านั้น ธุรกิจขนาดเล็กและบุคคลทั่วไปก็สามารถหาซื้อคอมพิวเตอร์ได้ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป นอกจากนั้นในยุคนี้ยังจะมีโปรแกรมสำเร็จรูปในด้านต่างๆ มาช่วยงาน เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล
2) การประยุคต์ในงานด้านอื่นๆ ในปัจจุบันมีการประยุกต์คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจในด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานประมวลผลข้อมูลหรืองานที่เกี่ยวกับตัวเลขเท่านั้นได้แก่
     2.1) การประยุกต์คอมพิวเตอร์ในการทำงานสำนักงาน ซึ่งเป็นการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านงานเอกสาร และงานด้านอื่นๆ ในสำนักงานให้ที่งานได้อัตโนมัติมากยิ่งขึ้น (Office Automation ; OA) เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานด้านการจีดพิมพ์เอกสาร แทนการใช้เครื่องพิมพ์ดีด ทำให้การทำงานของพนักงานพิมพ์ผิดหรือตกหล่นไปบางประโยค การใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยงานพิมพ์จะสามารถแก้ไขและพิมพ์เพิ่มเติมได้อย่างง่ายดายโดยไม่ต้องเริ่มพิมพ์ใหม่ตั้งแต่ต้น
     2.2) การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้านการออกแบบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อช่วยให้สินค้ามีคุณภาพและมีคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการทดลองออกแบบผลิตภัณฑ์ ทั้งรูปแบบและสีสันต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำได้รวดเร็วและสะดวกเมื่อเปรียบเทียบกับการออกแบบที่เขียนบนกระดาษ
     2.3) การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ(Expert System : ES) ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านเปรียบเสมือนมรผู้เชี่ยวชาญในงานด้านนั้นๆ มาคอยให้คำแนะนำ
3) ระบบสารสนเทศในธุรกิจ จะเห็นได้ว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ในงานดารประมวลผลข้อมูลที่มีแต่ตัวเลขเท่านั้น ในยุคนี้บทบาทและความสำคัญของระบบสารสนเทศมีมากขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวมากขึ้น การแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้น รวมทั้งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องใช้สารสนเทศมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดทำระบบสารสนเทศภายในหน่วยงาน
4) โปรแกรมสำเร็จรูป ในยุคนี้มีโปรแกรมสำเร็จรูปมากมายซึ่งการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไป โดยที่ผู้ใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเหล่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีความรู้คำชำนาญในการเขียนโปรแกรม ผู้ใช้สามารถซื้อโปรแกรมสำเร็จมาใช้งานได้ทันที
5) การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์ ในยุคนี้การบริหารจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์และเครื่องมือคอมพิวเตอร์มีการกระจายอำนาจและการกระจายความรับผิดชอบจากศูนย์คอมพิวเตอร์ไปยังหน่วยงานย่อยในธุรกิจมากขึ้น หน่วยงานย่อยในธุรกิจมากจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไว้ใช้งานภายในหน่อยงาน จะเป็นผู้ดูแลทั้งข้อมูลและอุปกรณ์ภายในงานของตนเอง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น
ดังนั้นสรุปได้ว่าในยุคนี้การขยายขอบเขตการใช้คอมพิวเตอร์จากระดับปฎิบัติ มาช่วยในงานระดับบริหารมาขึ้นมักจะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและตัดสินใจโดยอาศัยสารสนเทศเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
          1.2.3 ยุคเครือข่ายหรือยุคเน็ตเวิร์ค (Network Era)
ยุคเครือข่ายเป็นยุคที่มีการผสมผสานการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งมีขนาดใหญ่ก็คือ ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นระบบที่ใช้อยู่เฉพาะในแวดวงการศึกษาเท่านั้น แต่ต่อมาได้ขยายออกไปสู่วงการอื่นๆ โดยเฉพาะด้านธุรกิจทำให้เกิดการประยุกต์ใหม่ๆ
การดำเนินธุรกิจในยุคเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปลง 4 ด้าน พอสรุปได้ดังนี้ คือ
1) การทำงานภายในองค์การจากเดิมทำงานแบบบุคคล (Personal Computing) เป็นการทำงานแบบกลุ่ม (Work group Computing) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอุปกรณ์อื่นๆเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรรวมทั้งข้อมูลข้อมูลร่วมกันได้
2) ระบบงาน จากระบบเดิมที่แยกส่วนๆ ไม่มีการเชื่อมโยงกันก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นระบบงานที่เชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันส่งผลให้การบริหารการจัดการทรัพยากรขององค์การธุรกิจ
3) โครงสร้างองค์การธุรกิจ โครงสร้างเดิมที่เน้นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อปฎิบัติงานภายในองค์การเท่านั้นเปลี่ยนเป็นองค์การที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจและพันธมิตรทางการค้าเข้าด้วยกัน
4) การประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ การเกิดการค้ารูปแบบใหม่ๆ เช่น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีหลากหลายตั้งแต่การเลือกซื้อสินค้า การชำระเงินโดยบัตรเครดิต หรือระบบการเงินในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

 สรุป
      ธุรกิจในปัจจุบันได้นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานในการดำเนินงาน ทำให้ประสบความสำเส็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยคอมพิวเตอร์สามารถเข้ามามีบทบาทในระดับผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น และ ระดับปฎิบัติการ การใช้คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการวางแผน และการตัดสินใจเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการประจำวันของธุรกิจทั้งการใช้คอมพิวเตอร์ในการระบบธุรกิจหลัก การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกัน และการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานส่วนบุคคลเพื่อการลดต้นทุนในการดำเนินงาน การเพิ่มรูปแบบการบริหารที่หลากหลายและรวดเร็ว การเพิ่มผลผลิตในองค์กร เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ ทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการทำงานรวมกัน เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การประชุมทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำเอกสาร การติดตามควบคุมโครงการ รวมถึงด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นต้น

แบบฝึกหัดที่ 1 บทบาทการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ

1)จงอธิบายความหมายของการจัดการธุรกิจ
ตอบ การจัดการ หมายถึง กระบวนการในการประสมประสานทรัพยากรต่างๆ ที่ทีอยู่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร อุทิส ศิริวรรณ (2548: 23)

2)จุดมุ่งหมายในการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ
ตอบ เพื่อให้การทำงานภายในองการธุรกิจนั้นดำเนินไปได้ด้วยดีและรวดเร็วมีความถูกต้องแม่นยำ การทำงานรวมกันของฝ่ายต่างๆภายในองค์การ

3)หน้าที่ของผู้บริหารในการจัดการธุรกิจได้แก่หน้าที่ใดบ้าง
ตอบ
-ผู้บริการระดับสูง เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดทิศทางการวางแผนกลยุทธ์ และนโยบายต่างๆ ขององค์การโดยส่วนรวม
-ผู้บริหารระดับกลาง มีหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและระดับล่าง และรับผิดชอบในการวางแผนตลอกจนระเบียบวิธีการปฎิบัติงานสำหรับการดำเนินงานเฉพาะอย่าง
-ผู้บริหารระดับล่าง มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลผู้ปฎิบัติงานหรือคนงานและให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำงาน

4)คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหารได้อย่างไรในการดำเนินธุรกิจ
ตอบ การมีสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัยตรงประเด็นหรือตรงกับความต้องการ ทันเวลาเพื่อใช้งาน กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วยการทำความเข้าใจในปัญหานั้นๆ หลังจากนั้นต้องมีการรวบรวมข้อมูลเพื่อกำหนดทางเลือกรวมทั้งการติดตามและการประเมินผล

5)ยกตัวอย่างการใช้ระบบสารสนเทศในการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหาร
ตอบ การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโดยการใช้ระบบสารสนเทศคือคือการ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กรไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลสินค้า ข้อมูลเขตการค้า หรืองบประมาณ เงินสด การลงทุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะนำไปวางแผนกลยุทธ์ให้แก่บริษัติได้

6)ยกตัวอย่างการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาบริหารงานของฝ่ายบุคคลในองค์กร
ตอบ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับฝ่ายบุคคล เช่น การบันทึกข้อมูลของพนักงาน เงินเดือน สวัสดิการต่างๆการผลิตข้อมูลเพื่อค่อยสนับสนุนองค์กร

7)องค์กรใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างความได้เปรียบอย่างไรบ้าง
ตอบ องค์กรใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างความได้เปรียบโดยการเก็บและรวบรวมข้อมูลทั้งภายนอกแล้วภายในบริษัติและนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ทำให้องค์กรสามารถที่จะวางแผนการหรือวางแนวทางความเป็นไปของบริษัติได้ดี

8)ยกตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานของธุรกิจในระดับปฎิบัติการ
ตอบ การใช้คอมพิวเตอร์ในระดับปฎิบัติการ คือ การใช้งานคอมพิวเตอร์ของแรงงาน นั้นคือการ ทำงานต่างๆที่จะทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้ เช่น งานเอกสาร การเก็บรวบรวมรายการค้าของแต่ละวัน

9)คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการจัดธุรกิจแนวใหม่ในลักษณะใดบ้างเกิดผลดีผลเสียอย่างไร
ตอบ คอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างมากในธุรกิจแนวใหม่ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับลูกค้าจนไปถึงการสั่งซื้อสินค้าและชำระเงิน ข้อดีคือมันสะดวกรวดเร็วมากข้อเสียคือความไว้วางใจกันระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อนั้นค่อนข้างต่ำเพราะผู้ซื้อไม่สามารถเห็นสินค้าจริงๆได้แต่ถ้าหากเป็นบริษัติหรือองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือก็ไม่มีปัญหาในเรื่องนี้

10)จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีที่สนับสนุนในการจัดการธุรกิจมา 3 ตัวอย่าง
ตอบ เทคโนโลยีที่สนับสนุนด้านการจัดการธุรกิจนั้นคือการที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้งานที่มีอยู่แล้วหรือสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นดีขึ้น เช่นการใช้คอมพิวเตอร์คำนวณตัวเลขต่างๆ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล หรือไม่ก็ก็ใช้งานเครื่องพริ้นรวมกันทั้งหน่วยงาน                                                                                                                      

แบบฝึกหัดที่ 3 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายและการประยุกต์ใช้งานสำหรับธุรกิจ

1)เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจและทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อมูลค่าทางธุรกิจมากมายให้แก่ธุรกิจ จงยกตัวอย่างมูลค่าทางธุรกิจที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้
ตอบ การประชุมทางไกลโดยผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์  ช่วยลดต้นทุนการเดินทางของผู้เข้าร่วมที่ประชุมที่มาจากสถานที่ต่างๆ

2)จงสรุปความท้าทายในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ตอบ เป้าหมายสำคัญในกระบวนการวางแผนธุรกิจคือแผนงานการสร้างความเร็วให้ระบบเพื่อสนองคำถามพื้นฐานต่อไปนี้
    1.ธุรกิจมีวิธีการที่จะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร
    2.คู่แข่งของธุรกิจมีวิธีการที่จะนำสินค้าของเขาเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร
    3.ธุรกิจสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน

3)สรุปความแตกต่างของเครือข่าย LAN,WAN,CAN,MAN มาพอเข้าใจ
ตอบ ระบบเครือข่ายทั้งสี่ระบบนี้มีลักณะคลายกันทั้งหมดมีความแตกต่างกันเพียงระยะการเชื่อมต่อกัน หมายถึงความใหญ่ของเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น LAN สามารถเชื่อมต่อกันได้แค่ในห้องหรือในออฟฟิตได้แต่เครื่อข่าย MAN สามารถเชื่อมต่อกันได้ในระดับจังหวัด

4)จงอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้มาอย่างเข้าใจ
ตอบ
4.1 Telecommunicatio Telecommunication การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างตัวประมวลผล โดยผ่านสื่อกลางที่เชื่อมต้นทางและปลายทางที่ห่างกัน โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายรูปแบบ ตามกฎเกณฑ์
4.2 Medium เป็นสื่อกลาวที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นกำเนิดไปยังปลายทางสื่อกลางนี้อาจจะเป็นเส้นลวดสายไฟ สายเคเบิล เป็นต้น
4.3 Protocol คือ วิธีการหรือกฎระเบียนที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามที่โปรแกรมกำหนด ติดต่อสื่อสารกันได้
4.4 WWW สถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ
4.5 Internet คือเครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บ,อีเมล, FTP เป็นต้น
4.6 Extranet คือ เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ทราเน็ตคือเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร
4.7 File Transfer Protocol โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง
4.8 Client/Server คือ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการม
4.9 Web Brower โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ
4.10 Router เป็นอุปกรณ์ระบบเครือข่ายซึ่งทำหน้าที่เหมือนสะพานสำหรับเครื่อข่ายถิ่น หรือระบบเครือข่ายLAN (Local Area Network)เข้ากับระบบเครือข่าย
 WAN (Wide Arwa Network) ขนาดใหญ่

5) สื่อกลางข้อมูลแบบมีสายประกอบไปด้วยสายสัญญาณอะไรบ้าง
ตอบ สายคู่บิดเกลียว  สายโคแอกเชียล เส้นใยนำแสง

6)สื่อกลางข้อมูลแบบไร้สายประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ตอบ คลื่นวิทยุ  สัญญาณไมโครเวฟ  แสงอินฟราเรด  ดาวเทียม  บลทูธ

7)ผู้เรียนคิดว่าเครือข่ายสถาบันการศึกษา หรือองค์กรที่สังกัดอยู่ประกอบไปด้วยเครือข่ายขนิดใดบ้าง
ตอบ สถาบันที่ศึกษาอยู่ประกอบด้วยเครือข่าย ชนิด LAN,WAN,CAN

8).ยกตัวอย่างอุปกรณ์ในระบบแลน (LAN) ที่พบเห็นในองค์กรธุรกิจ มา 2 ตัวอย่างพร้อมบอกประโยชน์ที่ได้รับจากอุปกรณ์นั้นๆ
ตอบ
เราเตอร์ (Router)
    1. เราเตอร์สามารถช่วยเพิ่มการใช้งานของระบบเครือข่ายได้ เพราะเราเตอร์หนึ่งตัวสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้มากตามลักษณะการใช้งาน
   2. เราเตอร์ที่สามารถปล่อยสัญญาณไวไฟหรือไวท์เลซได้นั้นยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายนำสัญญาณและทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์ยังมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่าน wireless อีกด้วย
   3. เราเตอร์บ้างรุ่นมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสมาให้ด้วยทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์จะสามารถป้องกันข้อมูลที่มีการส่งผ่านเราเตอร์ได้ด้วย
  ประโยชน์ของฮับ คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง
-ฮับ (Hub) ประโยชน์คือเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยการเสียบสายเคเบิลจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าที่ฮับ

9) เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต และเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต มีความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ อินทราเน็ตตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแต่อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆเครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและเอ็กส์ทราเน็ต (Extranet)เป็นเครือข่ายกึ่งอินเทอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต

10) ยกตัวอย่างบริการบบระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจมา 3 บริการ พร้อมบอกเหตุผลประกอบว่านำมาประยุกต์ใช้อย่างไร
ตอบ บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (Remote Login/Telnet) บริการนี้จะช่วยให้การทำงานหรือการซ่อมแซมคอมพิวเตอร์นั้นง่ายขึ้น เช่น การรีโมทเข้ามาเพื่อทำการสอนงานพนักงานหรือการรีโมทเข้ามาเพือซ่อมแซมคอมพิวเตอร์ในระดับซอฟต์แวร์ได้
-บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : e-Mail) บริการนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถคชติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้นและยังสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
-บริการติดต่อสนทนาออนไลน์ (Chat) บริการนี้จะทำให้การสนทานากันระหว่างหน่วยงานภายในหรือระหว่างโต๊ะทำงานเป็นไปได้ง่านขึ้นรวดเร็วสามารถตอบกลับได้ทันที่ มีลักษณะคล้ายกับ email แต่จะเป็นทางการน้อยกว่า

แบบฝึกหัดที่ 4 ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ

1) ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลคือข้อเท็จจริงที่ถูกเก็บรวบรวมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ส่วนสารสนเทศคือข้อมูลที่ถูกทำการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว

2)ระบบสารสนเทศทางธุรกิจคืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจ จงอธิบาย
ตอบ ระบบสารสนเทศคือระบบงานมีการทำงานโดยการประยุกต์คอมพิวเตอร์และรับบสื่อสารโทรคมนาคมที่รับข้อมูลแล้วนำมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆที่เป็นประโยชน์แก้การใช้งานด้วยกันนั้นก็ยังจัดเก็บข้อมูลที่รับไว้นั้นลงเก็บไว้ในสื่อบันทึกทำให้เกิดเป็นฐานข้อมูลที่นำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไป

3) วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการเงินมาใช้เพื่อประโยขน์ทางด้านใด จงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดเวลาและจะเพื่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฎิบัติงานเชิงบริหาร ระบบการเงินเปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายเพื่อให้การทำงานของร่างการเป็นปกติระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่องในการทำดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและโดยอ้อม

4)วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศด้านการตลาดและการขาย เพื่อประโยชน์ทางด้านใดจงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการขายและการตลาดมีหน้าที่หลักทางการขายและการตลาด การวางแผนเกี่ยวกับตัวสินค้าเป็นต้นว่าความสามารถในการผลิต แนวโน้ม สินค้า การกำหนดช่องทางการจำหน่ายสินค้าเช่น  สถานที่  ผู้จัดจำหน่าย  การขนส่ง  การกำหนดราคาสินค้าเช่น การให้ส่วนลด ต้นทุนการผลิต ผลกำไรและการกำหนดรูปแบบการส่งเสริมการขายเช่น การโฆษณา  การลดราคา

5) ระบบทันเวลาพอดี(Just - In - Time: JIT) คืออะไร เหมาะสมกันธุรกิจประเภทใด และเป้าหมายของการผลิตของระบบ JIT อยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
ตอบ การผลิตหรือการส่งมอบสิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ ซึ่งหมายรวมถึงบุคคลากรในส่วนงานต่าง ๆ ที่ต้องการงานระหว่างทำหรือวัตถุดิบ เพื่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้วัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็นในรูปของวัตถุดิบ งานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูปกลายเป็นศูนย์
เหมาะกับธุรกิจประเภท การส่งออกและโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์ เขียนแผนผังคุณค่าของผลิตภัณฑ์หลัก ทำให้การผลิตไหลลื่นสร้างกลไกการดึงงาน เพื่อลดการผลิตมากเกินไปพัฒนาสู่ความสมบูรณ์แบบ ต้นทุนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์การสู่ความเป็นเลิศในการผลิต

6) MRP คืออะไรเป็นระบบที่มีลักษณะอย่างไรเหมาะสมกับธุรกิจประเภทใด
ตอบ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการควบคุมวัสดุและการวางแผนการผลิต ระบบวางแผนความต้องการวัสดุจะพิจารณาความต้องการวัสดุจนถึงระดับผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณความต้องการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ในแต่ละช่วงเวลา เพื่อจัดการสั่งผลิตหรือสั่งซื้อส่วนประกอบนั้นๆ นอกจากนี้ ระบบวางแผนความต้องการวัสดุยังทำหน้าที่เป็นกลไกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตารางการผลิตเมื่อมีการทบทวนแผนงาน และเป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารการผลิตในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต เป็นระบบที่ช่วยในการวางแผนเกี่ยวกับความต้องการใช้วัตถุดิบว่าใช้ในช่วงใดบ้าง ปริมาณเท่าใด และนำไปใช้ในเงื่อไขอะไร

7) HRIS ช่วยการดำเนินการของฝ่ายบุคลากร ได้อย่างไร
ตอบ ระบบงานวางแผนกำลังคนแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของอัตรากำลัง อัตราการเข้า - ออกของบุคลากร
  ระบบงานทะเบียนประวัติช่วยในการเก็บข้อมูลด้านประวัติส่วนตัวของบุคลากร ประวัติการทำงาน ฯลฯ ซึ่งระบบอื่นๆ สามารถดึงข้อมูลไปใช้ร่วมกันได้
  ระบบการตรวจสอบเวลาระบบจะดึงเวลาจากเครื่องรูดบัตร มาเปรียบเทียบกับตารางเวลาทำงานปกติของพนักงาน แล้วรายงานความผิดพลาดที่เกิดขึ้นออกมา เช่น การขาดงาน, การมาสาย, การลา, หรือการทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
  ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือนช่วยในการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และภาษี โดยที่ระบบจะทำการคำนวณอัตโนมัติ
  ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานช่วยในการกำหนดมาตรฐานในการประเมินผล ช่วยในการบันทึก คำนวณผลลัพธ์ และสรุปการประเมินผลของบุคลากร ในเรื่องการขึ้นเงินเดือนและการเลื่อนขั้นตำแหน่ง
  ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรเป็นระบบที่ ช่วยในการวางแผนการพัฒนาบุคลากร
   ระบบงานสวัสดิการต่างๆช่วยในการเก็บบันทึกและบริหารงาน ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล, เงินกู้, การเบิกวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
   ระบบการสรรหาบุคลากรเป็นระบบที่บันทึกข้อมูลการสมัครงาน สามารถสร้างแบบฟอร์มการทดสอบ, แบบฟอร์มสำหรับการสัมภาษณ์งานได้ และเมื่อพนักงานผ่านการคัดเลือกแล้ว ก็สามารถโอนข้อมูลเข้าสู่ระบบรวมได้โดยอัตโนมัติ

8) ระบบสารสนเทศมีส่วนช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อย่างไร
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลายสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น

9) ข้อมูลภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยมีผลต่อการบริหารการเงินของธุรกิจได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

10) ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คือระบบใด มีลักษณะอย่างไรและธุรกิจได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ ระบบสารสนเทศใดๆ ที่ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร มีลักษณะสำคัญ คือ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจของหน่วยงานได้อย่างขนาดใหญ่ซึ่งนั้นก็คือสามารถทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบ SIS ทำเช่นนี้ได้โดยการกำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน หรือในการช่วยเพิ่มสมรรถนะและผลผลิตได้อย่างมาก ระบบ SIS อาจมีลักษณะมองออกไปข้างนอกคือความสนใจต่อลูกค้าหรือมองเข้ามาข้างในคือให้ความสนใจต่องค์กรเอง การมองไปข้างนอกเป็นการมุ่งที่การแข่งขันในตลาด